Wednesday, August 5, 2009



กระเจี๊ยบแดง (Jamaican Sorrel, Rosel)

คุณค่าทางโภชนาการ
กลีบเลี้ยงและใบประดับมีวิตามินซีสูง มีกรดซิตริก มัลลิก ธาตุแคลเซี่ยมสูง มีวิตามินเอและ
อื่นๆใบมีวิตามินเอสูงมาก ส่วนที่กินได้มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส และอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
1. ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาบำรุงธาตุ และยาระบายใช้ภายนอก คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะล้างแผล ใบตำให้ละเอียดนำมาประคบฝี

2. กลีบเลี้ยงทำให้สดชื่น ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ
3. เมล็ดลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ

น้ำกระเจี๊ยบ
ส่วนผสม

1. กระเจี๊ยบแห้ง 1/2 ถ้วย
2. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
3. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำสะอาด 5 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างกระเจี๊ยบ 1 ครั้งให้สะอาดพักไว้
2. ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่กระเจี๊ยบต้มจนออกสีแดง และเนื้อกระเจี๊ยบนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ เอาขึ้นตั้งไฟต่อ
3. ใส่น้ำตาล เกลือป่น เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำตาลละลายหมด ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็งดื่มก็ได้



กระท้อน (Sentul, Santol, Red Sentol, Yellow Sentol)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อผลมีสีน้ำตาล มีกรดอินทรีย์ วิตามินเอและซี ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต และอื่นๆ


สรรพคุณทางยา
1. ใบ ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้ และรักษาโรคผิวหนัง

2. ราก แก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด และดับพิษร้อนถอนพิษไข้

น้ำกระท้อน
ส่วนผสม

1. กระท้อนฝานเอาแต่เนื้อ 2 ถ้วย
2. น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
3. เกลือป่น 1 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด 4 ถ้วย

วิธีทำ
1. ต้มกระท้อนกับน้ำ ใช้ไฟอ่อน เคี่ยว จนเนื้อกระท้อนนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ
2. ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น คนให้เข้ากัน เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง
3. หรืออีกวิธีหนึ่ง ปั่นรวมกันให้ละเอียด เทใส่ขวดแช่เย็น

กล้วยหอม (Banana, Cultivated Banana)

คุณค่าทางโภชนาการ
กล้วยหอมสุก มีน้ำตาลหลายชนิด มีสารเพคติน มีโปรเตีน วิตามินเอและ ซี ธาตุฟอสฟอรัส และแคลเซี่ยม สาร ที่ให้กลิ่นหอมในกล้วยสุกคือ amyl acetatea


สรรพคุณทางยา
1. ใบตอง ใช้ปิดแผลไฟไหม้ ใช้ใบตองที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไปและฆ่าเชื้อก่อนใช้

2. เปลือกกล้วยหอมสุก ใช้รักษาส้นเท้าแตก โดยใช้เปลือกกล้วยด้านที่ติดกับเนื้อกล้วย ทาติดต่อกันจนกว่าจะหาย

น้ำกล้วยหอมปั่น
ส่วนผสม

1. กล้วยหอมหั่นท่อนสั้น 1 ถ้วย
2. นมสด 3 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
4. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
5. น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
6. น้ำแข็งบด 1 ถ้วย

วิธีทำ
ใส่กล้วยหอม นมสด น้ำเชื่อม เกลือ ป่น น้ำแข็ง และน้ำต้มลงในโถปั่น ปั่น ให้เข้ากันดี

ขนุน (Jack Fruit)
คุณค่าทาง โภชนาการ
เนื้อผล มีน้ำตาลสูง มีน้ำมันหอมระเหย มีวิตามินเอ มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ แก่น มีสารสีเหลือง ชื่อ morin ใช้เป็นสีย้อม
สรรพคุณทางยา
1. ผลอ่อน เป็นยาระบาย
2. แก่น บดกินเป็นยาระบาย กินขนุนทำให้ผิวพรรณดี
3. เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด

น้ำขนุน
ส่วนผสม
1. เนื้อขนุนฉีกเป็นเส้น 100 กรัม
2. น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด 3 ถ้วย
วิธีทำ
1. ใส่น้ำ เนื้อขนุนลงในหม้อ ตั้งไฟอ่อน เคี่ยวพอเนื้อขนุนนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ แยกเนื้อไว้
2. ใส่น้ำตาล เกลือ เคี่ยวต่อจนน้ำตาลละลาย ยกลง ทิ้งไว้พออุ่น ใส่เนื้อขนุนที่แยกไว้
3. เวลากิน ตักน้ำแข็งใส่แก้ว ตักทั้งน้ำและเนื้อขนุนใส่

ขิง (Ginger)

คุณค่าทางโภชนาการ
ขิง มีน้ำมันหอมระเหย 1-3 % ทำให้ขิงมีกลิ่นหอม และมีน้ำมันชัน (clecresin)ซึ่งจะทำให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเป็นเหง้าขิงแก่ๆ สารชนิดนี้ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และรสเผ็ด ยังมีธาตุแคลเซียมฟอสฟอรัส และอื่นๆ
สรรพคุณทางยา
1. ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ บำรุงธาตุไฟ รักษานิ่ว ช่วย ย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ลมป่วง ท้องร่วงอย่างแรง อาเจียน
2. ใบ บรรเทาอาการฟกช้ำ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม รักษาโรคกำเดาและนิ้ว ขับลมลำใส้
3. ดอก ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ ผล รักษาอาการไข้

น้ำขิง
ส่วนผสม

1. ขิง (ไม่แก่นัก) 2 ถ้วย
2. น้ำ 9 ถ้วย
3. น้ำตาลทราบ 1 1/2 ถ้วย

วิธีทำ
ปอกเปลือกขิงออก ล้างน้ำ ทุบพอแหลก ตั้งน้ำให้เดือด เอาขิงลงต้มให้เดือด กรองเอากากออก เติมน้ำตาล ชิมรส ยกลง กรองใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เมื่อเย็นเก็บใส่ตู้เย็น การต้มถ้าเดือดนานไป กลิ่นหอมของขิงจะระเหยออกไปหมด เมื่อดื่มควรเติมน้ำแข็ง การเตรียมน้ำขิงควรใช้ขิงไม่แก่นัก เพราะขิงแก่จัดจะมีสารชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดจัด รสไม่กลมกล่อม


แครอท (carrot)

คุณค่าทางโภชนาการ
หัว มีสารเบต้า-แคโรทีนสูง มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ บี 1 บี 2 และ วิตามินซี

สรรพคุณทางยา
หัว มีปริมาณของเกลือโปตัสเซียมสุง ซึ่งทำให้มีฤทธิ์ทางขับปัสสาวะ มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในทางขับ พยาธิใส้เดือน
น้ำแครอท
ส่วนผสม
1. แครอทหั่นเล็ก ๆ 3 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำเชื่อมเข้มข้น 8 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
4. เกลือ 1 ช้อนชา
5. น้ำต้มสุก 2 แก้ว

วิธีทำ
ล้างแครอทให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ เติมน้ำตามส่วน ผสมให้เข้ากัน ใส่น้ำแข็งก่อนกิน

เงาะ (Rambutan)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อเงาะ มีน้ำตาลสูง มีแร่ธาตุและวิตามินซี ส่วนเปลือกผลมีรสฝาด มีสารแทนนินและอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
1. เปลือกต้น แก้ท้องร่วง สมานแผล
2. เปลือกเงาะ ใช้เป็นยาขับพยาธิ
3. ใบ เป็นยาพอกแผล
4. ผล แก้บิด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไข้ บำรุงกำลัง และบำรุงร่างกาย
5. เมล็ด ทำให้นอนหลับง่าย

น้ำเงาะ
ส่วนผสม
1. เงาะคว้านเมล็ดออก 15 ลูก
2. น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
วิธีทำที่ 1
1. ใส่เนื้อเงาะลงในโถปั่นพร้อมน้ำต้มสุก แล้วปั่นให้ละเอียด
2. ใส่น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นอีกครั้งให้เข้ากัน เวลากินตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำเงาะใส่

วิธีทำที่ 2 นำเนื้อเงาะต้มกับน้ำ 2 ถ้วย เดือดประมาณ 5-7 นาที ใส่น้ำตาล 1/2 ถ้วย เกลือเล็กน้อย ต้มพอน้ำตาลละลาย ยกลง

ชมพู่ (Rose Apple)

คุณค่าทางโภชนาการ
มีน้ำตาล วิตามินเอสูง มีวิตามินซี และ วิตามินอื่น ๆ มีแร่ธาตุ เช่น ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต และอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
1. ผล เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ และ ทำให้ชุ่มชื่น
2. เมล็ด เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้เบาหวาน

น้ำชมพู่
ส่วนผสม
1. ชมพู่ 5 ลูก
2. น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 2 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างชมพู่ให้สะอาด ผ่าเอาใส้ออก หั่นชิ้นเล็กใส่ลงในโถปั่น ใส่น้ำต้มสุก ปั่นให้เข้ากันดี
2. ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น ปั่นอีกครั้งให้เข้ากัน ใส่น้ำแข็งดื่มเย็นๆ

เตยหอม (Pandanus)

คุณค่าทาง โภชนาการ
ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร ซึ่งเป็นสารคลอโรฟิล


สรรพคุณทางยา
1. ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น 2. ต้นและราก เป็น ยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน
น้ำใบเตยหอม
ส่วนผสม

1. ใบเตย 3 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 8 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
4. น้ำแข็ง

วิธีทำ
1. ใบเตยสดที่ไม่แก่มาก เก็บมาใหม่ ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิม 10-15 นาที
2. นำใบเตยมาหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังเดือดต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก
3. ใบเตยที่หั่นแล้วอีกส่วนหนึ่งปั่นให้ละเอียดโดยเติมน้ำแล้วกรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ลงในหม้อใบเตยที่กำลังต้มอยู่ ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด



แตงโม (Watermelon)

คุณค่าทาง โภชนาการ
ผล มีแคลเซียม มีวิตามินเอ และซี มี น้ำตาลหลายชนิด และอื่น ๆ เมล็ด มีไข มัน มีโปรตีน แป้ง วิตามินบี2 เอ็นไซม์ และอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
1. เนื้อแตงโม มีรสหวานเย็นรับประทาน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ปากเป็นแผล และช่วยขับปัสสาวะ
2. รากและใบ ใช้สดๆประมาณ 50-90 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มแต่น้ำ 3 เวลาหลังอาหาร แก้อาการท้องร่วง และแก้บิด

น้ำแตงโม
ส่วนผสม
1. เนื้อแตงโมแคะเมล็ดออก 1 ถ้วยหั่นชิ้น
2. น้ำเชื่อม 1/4 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 1/4 ถ้วย
5. น้ำแข็งบด 1 1/2 ถ้วย

วิธีทำ
นำแตงโมมาล้างน้ำให้สะอาด ผ่าแกะเอาเมล็ดออก หั่น ใส่เนื้อแตงโมลงในโถปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือ น้ำต้มสุก และน้ำแข็ง ปั่นให้เข้ากันดี จะได้น้ำแตงโมสีแดงสด





น้อยหน่า (Custard Apple , Sugar Apple, Sweet Sub)

คุณค่าทาง โภชนาการ
น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงประมาณ 15-16% และมีโปรตีนประมาณ 1.8% มีธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม มีวิตามินซี และสารอื่นๆ เมล็ดมีน้ำมัน มีสารอัลคาลอยด์ กรดไขมันและอื่นๆ


สรรพคุณทางยา
1. ผล นำมาใช้ 2 อย่างคือ ผลดิบ เป็นยาแก้ พิษงู แก้ฝีในคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู เมล็ด ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม
2. ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน ถอนพิษ เบื่อเมา
3. ใบ ขับพยาธิลำใส้ ฆ่าเหา และแก้กลากเกลื้อน
4. เปลือกต้น เป็นยาสมานลำใส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้รำมะนาด และแก้พิษงู

น้ำน้อยหน่า
ส่วนผสม
1. น้อยหน่าแกะเอาเมล็ดออก 1 ถ้วย
2. น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
3. เกลือ 1/4 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
วิธีทำ
1. ใส่เนื้อน้อยหน่าลงในโถปั่น ใส่น้ำต้ม น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นให้ละเอียด
2. เวลากิน ตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำน้อยหน่าใส่ ดื่มเย็นๆ



บัวบก (Asiatic Penywort)

คุณค่าทาง โภชนาการ
บัวบกมีน้ำมันหอมระเหยทุกส่วน สารที่มีรสขม มีสารไกลโคไซด์ มีวิตามินเอสูงมาก มีธาตุแคลเซียมและสารอื่นๆ
สรรพคุณทางยา
ทั้งต้น นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ฟกช้ำได้ ลดการอักเสบได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ตำพอก รักษาแผลสด ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ขับปัสสาวะ และทำครีมทาผิวหนังแก้อักเสบ

น้ำบัวบก
ส่วนผสม
1. ใบบัวบก 2 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 2 ถ้วย
3. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
4. น้ำแข็ง

วิธีทำ
นำใบบัวบกที่สดๆใหม่ ๆ ล้างน้ำให้สะอาด แช่ด่างทับทิม 15-20 นาที ใส่เครื่องปั่นเติมน้ำพอสมควร กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมพอหวาน ชิมรสตามใจชอบ จะได้น้ำใบบัวบกสีเขียวใส น่ารับประทาน เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด รสหอมหวานชื่นใจ ดื่มแก้อาการกระหายน้ำ

พุทรา (Jujube)

คุณค่าทาง โภชนาการ
พุทรา มีวิตามินซี น้ำตาล ฟอสฟอรัส แคลเซียม และไขมัน

สรรพคุณทางยา
1. เปลือก มีรสฝาด รักษาอาการท้องร่วง
2. ราก ต้มดื่มแก้ไข้
3. ผล เป็นยาบำรุง และช่วยระงับอาการคนเป็นโรคประสาทอ่อนๆ

น้ำพุทรา
ส่วนผสม
1. พุทราไทยสุกงอม 3 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
4. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำ
นำพุทรามาล้างน้ำให้สะอาด นำมาต้มกับน้ำในหม้อเคลือบ เมื่อผลเปื่อยพอดีได้ นำมายี ให้เนื้อหลุดจากเมล็ดแล้วเติมน้ำ กรองด้วยกระชอนเอาเมล็ดและเปลือกออก ตั้งไฟ เติมน้ำตาล เกลือ ชิมรสตามชอบ เพราะจะขึ้นอยู่กับรสของพุทรา ถ้าเปรี้ยวมากก็ต้องใส่น้ำตาลและเกลือเพิ่มขึ้น ชิมได้ที่ตั้งไฟ เดือด 5 นาที ยกลง กรองใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที พอเย็นแล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ดื่ม


ฟักทอง (Pumpkin, Cushaw, Winter Squash)

คุณค่าทาง โภชนาการ
1. เนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลือง โปรตีน และอื่นๆ
2. ใบอ่อน มีวิตามินสูงเท่ากับในเนื้อ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ
3. ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
4. เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีน วิตามิน

สรรพคุณทางยา
1. เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกาย
2. ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น
3. น้ำมันจากเมล็ด บำรุง ประสาท เยื่อกลางผล พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวมอักเสบ

น้ำฟักทอง
ส่วนผสม
1. ฟักทองนึ่งสุก 1 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 3 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 100 กรัม
4. เกลือป่น
วิธีทำ
ปอกเปลือกฟักทอง นึ่งให้สุก ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด เทใส่ภาชนะนำไปตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ชิมรส ตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่หม้อ ตั้งไฟพอเดือด ยกลง เทใส่ขวด จะได้น้ำฟักทองสีเหลืองมีรสหวานมัน


มะขาม (Tamarind)


คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อมะขามเปียก มีกรดอินทรีย์สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี เพคติน และอื่นๆ เมล็ดมะขาม มีมิวซิเลจสูง ไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำมันชนิด semidrying fixed oil และอื่นๆ


สรรพคุณทางยา
1. ใบแก่ เป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้

2. เนื้อมะขาม แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

3. เมล็ดแก่ เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก


น้ำมะขาม
ส่วนผสม

1. เนื้อมะขามเปียกใหม่ ๆ 200 กรัม

2. น้ำตาลทราย 500 กรัม

3. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ

4. น้ำ 3 ลิตร


วิธีทำ

1. ล้างมะขามเปียก ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำ ยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดคนให้เนื้อมะขามผสมกับน้ำให้มากที่สุด ยกลง

2. กรองเอาแต่น้ำใส่หม้อเคลือบ(เอากากทิ้ง) ยกขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง พอเดือดใส่น้ำตาล เกลือ คนให้ละลายเดือดสักครู่ ยกลง

3. ทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ขวด นึ่งแล้วเก็บ เข้าตู้เย็น

4. เวลากิน ใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะขามใส่ เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย




มะเขือเทศ (Wild Tomato, Love Apple)
คุณค่าทางโภชนาการ
มะเขือเทศสุก มีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเกือบครบ เช่น เอ บี ซี เค และ วิตามินอื่นๆ วิตามินเอนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะมะเขือเทศสีดา และมีสารที่ให้สีเหลืองส้ม ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
มะเขือเทศสุก จะช่วยย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยระบาย และช่วยฟอกเลือด ใช้มะเขือเทศสุกฝานบางๆ หรือคั้นน้ำจากผลสด ทาหน้า ช่วยให้ผิวหน้าตึง มีน้ำมีนวลขึ้น

น้ำมะเขือเทศ
ส่วนผสม
1. มะเขือเทศ 1/2 กิโลกรัม
2. น้ำต้มสุก 3 ถ้วย
3. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
4. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
ใช้มะเขือเทศสุกแดง ล้างน้ำให้สะอาด ผ่า 2 ซีกแกะเมล็ดออก เอาแต่เนื้อปั่นกับน้ำต้มสุก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมดูรสตามชอบ จะได้น้ำมะเขือเทศเข้มข้น คล้ายน้ำมะเขือเทศกระป๋อง รสหวานหอม มีรสเปรี้ยว เค็มเล็กน้อย
มะตูม (Bael fruit, Bengal quince)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อมะตูมสุก มีน้ำตาลมิวซิเลจ เพคติน สารฝาดสมาน มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส น้ำมันหอมระเหย สารที่มีรสขม และอื่นๆ

สรรพคุณทางยา
1. ผลอ่อน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม
2. ผลแก่ แก้เสมหะ บำรุงธาตุไฟ
3. ผลสุก แก้ลมเสียดในท้อง แก้มูกเลือด และแก้กระหายน้ำ
4. เปลือกราก ลำต้น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำใส้
5. ราก แก้พิษฝี พิษไข้ รักษาน้ำดี

น้ำมะตูม
ส่วนผสม
1. มะตูมแห้ง 7 แผ่น
2. น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วย
3. น้ำสะอาด 7 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างมะตูม ปิ้งไฟให้หอม
2. ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่มะตูมที่ปิ้งใช้แล้ว ใช้ไฟอ่อนต้มประมาณ 30 นาที
3. ตักมะตูมขึ้น ใส่น้ำตาล พอน้ำตาลละลาย ปิดไฟ ยกลง กรองด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้เย็น

มะนาว (Lime)

คุณค่าทาง โภชนาการ
น้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก มาลิค วิตามินซีสูง และมีสารอื่นๆ
ผิวมะนาว มีน้ำมันหอมระเหย มีวิตามินเอ และซี มีธาตุแคลเซียมฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาว มีสารที่มีรสขม และอื่น ๆ

สรรพคุณทางยา
1. ใบ ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้ เจริญอาหาร
2. ผล คั้นเอาน้ำ กินเป็นยา แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
3. เปลือกผล เปลือกผลแห้ง ต้มน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร และขับลม
4. รากสด แก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือหกล้ม แก้ปวด และแก้พิษสุนัขกัด

น้ำมะนาว
ส่วนผสม
1. น้ำมะนาว 1 ถ้วย
2. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด 1 ถ้วย

วิธีทำ
1. ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลและน้ำ ตั้งไฟให้ละลาย ทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ
2. ใส่น้ำมะนาว เกลือ ลงในน้ำเชื่อม คนให้เกลือละลาย
3. กินแบบอุ่นหรือเย็นก็ได้ โดยใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะนาวใส่ แต่งด้วยมะนาวฝาน และสะระแหน่

มะพร้าว (Coconut)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อมะพร้าวมีน้ำมันประมาณ 65 % มีฟอสฟอรัสสูง มีแคลเซียม คาร์โบไฮเดรต
น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิดที่อิ่มตัว ทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน

สรรพคุณทางยา
1. เปลือกต้นสด เผาไฟให้เป็นเถ้า แก้ปวดฟัน ทาแก้หิด
2. เนื้อมะพร้าวสดหรือแห้ง เป็นยา บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้
3. น้ำมะพร้าว เป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับ ปัสสาวะ แก้พิษ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต
4. น้ำมันที่ได้จากเนื้อ หรือกะลา ทาแผลน้ำร้อนลวก

น้ำมะพร้าว
ส่วนผสม
1. มะพร้าวน้ำหอม 1 ลูก
2. น้ำเชื่อม 5-6 ช้อนแกง

วิธีทำ
เลือกมะพร้าวอ่อนที่มีน้ำหอมหวาน เหมาะที่จะรับประทานเป็นมะพร้าวอ่อน เฉาะเปลือกตรงหัวออก เทน้ำเก็บไว้ ผ่าซีก 2 ซีก ตักเอาแต่เนื้อขาว ๆ ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำมะพร้าวที่เก็บไว้ลงไป เติมน้ำต้มสุกอีกเล็กน้อย ปั่นใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามใจชอบ กรองใส่ขวดเข้าตู้เย็น ทิ้งไว้เป็นวุ้น อย่าให้แข็ง เมื่อเอาออกมา รับประทาน จะได้น้ำมะพร้าวปรุงรส หวานมันหอมเย็นชื่นใจ ดื่มแล้วสดชื่น

มะม่วง (Mango)
คุณค่าทางโภชนาการ
ผลมะม่วง มีวิตามินซีและเอ ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็กเล็กน้อย มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มะม่วงสุกจะมีสีน้ำตาลและวิตามินเอสูงมาก

สรรพคุณทางยา
1. เปลือกลำต้น ต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ โรคคอตีบ แก้เยื่อปากอักเสบ และแก้เยื่อเมือกในจมูกอักเสบ
2. ใบ ต้มน้ำกิน แก้ลำใส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น
3. ผลสด กินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย
4. เมล็ด ต้มเอาน้ำกิน ถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง แก้ริดสีดวงทวาร ตกเลือด และแก้ท้องอืด

น้ำมะม่วง
ส่วนผสม
1. มะม่วงสุก 2 ลูก
2. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/2 - 1 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 1 1/2 ถ้วย

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกมะม่วง ล้างให้สะเด็ดน้ำ หั่นชิ้นเล็ก ๆ 1 ถ้วย ใส่ลงในโถปั่น
2. ใส่น้ำต้ม ปั่นให้ละเอียด ใส่น้ำเชื่อม และ เกลือปั่นอีกครั้ง ชิมรสให้เปรี้ยว หวาน เค็ม เล็กน้อย
3. เทใส่แก้ว นำไปแช่เย็น

มะยม (Star Gooseberry)

คุณค่าทางโภชนาการ
ผลมะยม มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามินซี ธาตุฟอสฟอรัส

สรรพคุณทางยา
1. ใบ ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ต้วร้อน
2. เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ไข้ทับระดู ต้มอาบแก้ผดผื่นคัน
3. ราก แก้โรคผิวหนัง เม็ดผดผื่นคัน ประดง และแก้น้ำเหลืองเสีย
4. ผล กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง ตำรวมกับพริกไทยพอกแก้ปวดกล้ามเนื้อและปวดหลัง

น้ำมะยม
ส่วนผสม
1. มะยมคลึงหรือบุบให้นุ่ม 1 ถ้วย
2. น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
3. เกลือป่น 1 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด 2 ถ้วย

วิธีทำ
1. ต้มมะยมกับน้ำจนเนื้อมะยมนุ่ม กรอง ด้วยกระชอนตาห่าง ๆ ขณะกรองให้ใช้ ทัพพียีให้เนื้อออกมาด้วย
2. ใส่น้ำตาลและเกลือตั้งไฟอ่อน เคี่ยวประมาณ 30 นาที จนน้ำตาลและเกลือละลาย ยกลง
3. เวลากิน ใส่น้ำแข็งลงในแก้ว ตักน้ำมะยมใส่

มะระ(Bitter Cucumber, Balsam Pear)

คุณค่าทางโภชนาการ
ผลมะระ มีแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินบี1,2 และวิตามินซี

สรรพคุณทางยา
1. ใบ มีรสขม ต้มดื่มแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน บำรุงน้ำดี และแก้ปากเปื่อย
2. ลูก มีรสขม แก้ตับม้ามพิการ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิในท้อง แก้ลมเข้าข้อ และแก้ปวดบวมตามหัวเข่า
น้ำมะระ
ส่วนผสม
1. มะระจีนผลใหญ่ 1 ใหญ่
2. น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
3. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
4. เกลือป่น 1/3 ช้อนชา

วิธีทำ
เลือกมะระผลใหญ่ ล้างให้สะอาด เอาใส้และเมล็ดออก หั่นเอาแต่เนื้อเป็นชิ้นๆใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่น กรองเอากากออกด้วยผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสดูตามใจชอบ เก็บใส่ภาชนะสะอาด เวลาดื่ม เติมน้ำแข็งบด หรือเก็บใส่ตู้เย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
มะละกอ (Papaya , Pawpaw)
คุณค่าทาง โภชนาการ
ผลมะละกอมียางดิบ มีสารเพคติน แคลเซียม วิตามินซีและอื่น ๆ ผลมะละกอสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน เหล็ก แคลเซียม และมีสาร carotencid เป็นสารที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม

สรรพคุณทางยา
1. ต้นมะละกอ ขับประจำเดือน ลดไข้
2. ดอก ขับปัสสาวะ
3. ราก แก้กลากเกลื้อน
4. ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลา และหูด ฆ่าพยาธิ

น้ำมะละกอ
ส่วนผสม
1. มะละกอสุก 1/2 ลูก
2. น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
4. น้ำต้มสุก 3 ถ้วย

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกมะละกอ ล้างให้หมดยาง ฝานเอาเมล็ดออก หั่นชิ้นเล็ก ๆ
2. ใส่เนื้อมะละกอสุกลงในโถปั่น ใส่น้ำต้ม น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นให้ละเอียด
3. ตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำมะละกอใส่ดื่มเย็นๆ หรือจะแช่เย็นก็ได้

มังคุด(Mangosteen)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อผล มีน้ำตาล และกรดอินทรีย์บางชนิด มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และอื่นๆ
เปลือกผล มีสารฝาดสมาน และมีตัวฆ่าเชื้อหนอง

สรรพคุณทางยา
1. เปลือกผล บดต้มหรือชงแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้ท้องเสียผสมน้ำปูน ทาสมานแผล แก้แผลเน่าเปื่อยพุพอง แผลมีหนอง
2. เนื้อหุ้มเมล็ด แก้ร้อนใน
3. ยางจากผล แก้บิดท้องร่วงใส่แผลหนอง
4. เปลือกผล มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนอง โดยฆ่าได้ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อยา"เพนนิซิลิน" มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผล เป็นหนองสิว ช่วยลดร่องรอยด่างดำ

น้ำมังคุด
ส่วนผสม
1. มังคุด 500 กรัม
2. น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด 3 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างมังคุดให้สะอาด ผ่าเอาเปลือกออก นำเนื้อมังคุดมาขยำ ใส่น้ำตั้งไฟให้เดือด 5 นาที กรองเอาแต่น้ำ
2. ใส่น้ำเชื่อม เกลือ คนให้เข้ากันและเกลือละลาย เทใส่ขวดเข้าตู้เย็น
3. เวลากินตักน้ำแข็งใส่ เทน้ำมังคุดใส่


ระกำ (Rakam, Sala)

คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อระกำ มีกรดอินทรีย์ น้ำตาล มีวิตามินซีเล็กน้อย มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่นๆ


สรรพคุณทางยา
1. ผล กินเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ

2. แก่น มีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษากำเดา รักษาเลือด

น้ำระกำ
ส่วนผสม

1. ระกำเปรี้ยว 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
3. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำ 5 ถ้วย

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกระกำ ต้มน้ำให้เดือด ใส่ระกำต้มเคี่ยว 20 นาที
2. ยีเอาแต่เนื้อระกำ แล้วปั่นรวมกับน้ำ กรองให้ได้น้ำ 4 ถ้วย
3. ผสมน้ำระกำที่กรองกับเกลือและน้ำตาลเข้าด้วยกัน ต้มต่อจนเดือดและน้ำตาล เกลือละลาย
4. ยกลง ทิ้งให้เย็น เทใส่ขวดที่ลวกแล้ว ปิดฝานำเข้าตู้เย็น